ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของ DVD  (อ่าน 14758 ครั้ง)

boom

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 6
ความเป็นมาของ DVD
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2007, 07:54:14 pm »
ความเป็นมาของดีวีดี DVD

(Digital Video disc/Digital Versatile Disc)

                DVD ในชื่อเต็มว่า Digital Video Disc ดีวีดีมีเมื่อปี 1995 หลังจากซีดี 13 ปี โดยมีกลุ่มพันธมิตรใหม่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคม ดีวีดี  (DVD Consortium) มีบริษัทฟิลิปส์ โซนี่ และอีก 7 บริษัทได้แก่ ฮิตาชิ แมทซูชิต้า (พานาโซนิค)  ไพโอเนียร์ มิตซูบิชิ เจวีซี ธอมสัน โตชิบ้า และบริษัทไทม์  วอร์นเนอร์  แรกๆใช้ชื่อเต็มว่า "Digital Video Disc" ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ปี 1996 สมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สหรัฐอเมริกาและสมาคมผู้ผลิตสินค้าเนื่องจากซอฟต์แวร์หรือข้อมูลที่รองรับจะเกี่ยวกับด้านมัลติมีเดียและภาพยนตร์ ต่อมามีการประยุกต์ใช้ดีวีดีให้สามารถรองรับการทำงาน ด้านอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถ
ในการเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ นอกจากภาพยนตร์วีดีโอ เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Digital Versatile Disc แทนแต่ก็ยังคงเรียกใช้ทั้งสองแบบ หลังจากบริษัทโซนี่ และฟิลิปส์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาซีดีรูปแบบต่างๆ ออกมาสู่ตลาดโลกและพัฒนาสื่อ DVDอีกชนิดหนึ่งโดยรูปลักษณ์ภายนอกของแผ่น DVD นั้นมีลักษณะเช่นเดียวกันกับแผ่นซีดีถ้าไม่บอกหรืออ่านโลโก้บนแผ่นเพียง มองดูด้วยตาเปล่าก็คงแยกไม่ออกว่าแผ่นใดเป็น DVD แผ่นใดเป็นซีดีธรรมดา แผ่น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้มากเมื่อเทียบกับแผ่นซีดี มาตรฐานสามารถเก็บข้อมูลได้ 700 เมกะไบต์ แต่แผ่น DVD สามารถเก็บได้มากกว่าถึง 7 เท่า ในแบบ 1 ชั้น (Layer) คือประมาณ 4.7 กิกะไบต์ เมื่อกล่าวถึงระบบภาพแล้ว DVD สามารถให้ภาพที่คมชัดใกล้เคียงกับเทปต้นแบบจากสตูดิโอ ซึ่งมากกว่า 500 เส้น ด้วยระบบการบีบอัดสัญญาณดิจิตอล รวมถึงการส่งผ่านของข้อมูลที่มีความเร็วถึง 9.8 Mbps ซึ่งมากกว่า VCD ที่มีอัตราการส่งผ่านเพียง 1.5 Mbps และเมื่อเปรียบเทียบความคมชัด DVDให้รายละเอียดที่มากกว่า VCD ถึง 4 เท่า และระบบเสียงนั้นสามารถเก็บเสียงที่เป็นระบบ Dolby Digital (AC-3), DTS 5.1 Channel ได้ภายในแผ่นเดียวอีกทั้งสามารถบรรจุเสียงพากย์ได้ 8 ภาษา และบันทึกคำบรรยายได้ถึง 32 ภาษา

DVD-R/RW และ DVD+R/RW คืออะไร

              ทำไมถึงต้องมีเครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบสำหรับดีวีดีทั้งสองประเภทนี้ ในตอนแรกมาตรฐาน DVD R/RW เริ่มต้นกับเครื่องหมายลบก่อน โดยเกิดจากการพัฒนาและวางมาตรฐานของกลุ่มDVD Forum ซึ่งเรียกว่าเป็นสมาคมสำหรับควบคุมมาตรฐานสื่อบันทึกข้อมูลในรูปแบบของดีวีดีขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้น แต่ด้วยการพัฒนามาตรฐานของ DVD Forum ดูเหมือนว่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานและการพัฒนาต่อไปในอนาคตด้วย ทางสมาชิกกลุ่มหนึ่งจึงร่วมมือกันพัฒนามาตรฐานดีวีดีที่บันทึกได้ในรูปแบบของ DVD+R/RW ขึ้นมา เป็นกลุ่ม DVD Allianceทำให้มาตรฐานใหม่นี้ไม่ได้ถูกยอมรับจาก DVD Forum ที่เป็นผู้ดูแลมาตรฐานเดิมอยู่มาตรฐาน DVD+R/RWจึงเป็นมาตรฐานต่างหากที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้กับมาตรฐานเดิม  แต่ด้วยการที่กลุ่มสมาชิกที่แยกตัวมาตั้งมาตรฐานใหม่ ต่างก็เป็นผู้นำด้านการผลิตDVD+R/RW จึงได้เริ่มมีการยอมรับและไดร์ฟดีวีดีรุ่นใหม่ๆ ต่างก็สามารถที่จะอ่านข้อมูลและใช้งาน DVD+R/RW มาตรฐานใหม่นี้ได้ด้วย จึงไม่ต้องเป็นห่วงว่าเมื่อซื้อไดร์ฟประเภทนี้มาแล้วจะไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องเล่นใดๆ ได้ เพียงแต่ไดร์ฟทั้งสองมาตรฐานจะไม่ สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟ เป็นไดร์ฟประเภทไหนก็ต้องใช้ประเภทนั้น เช่น ไดร์ฟ DVD+R/RW จะไม่สามารถเขียนข้อมูลลงในแผ่น DVD-R/RW ได้ และไดร์ฟ DVD-R/RW ก็ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น DVD+R/RW ได้เช่นเดียวกัน แต่เมื่อเขียนแล้ว แผ่นทั้งสองมาตรฐานต่างก็สามารถนำไปใช้กับไดรฟ์ดีวีดีรอมรุ่นใหม่ๆ ได้ไม่เป็นปัญหาส่วนในการอ่านไม่ได้เป็น
ปัญหาความแตกต่างของทั้งสองมาตรฐานเท่าที่เห็นก็จะเป็นลักษณะของการบันทึกข้อมูลมากกว่า โดย DVD+R/RW เนื่องจากพัฒนาออกมาภายหลัง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของ DVD-R/RW     จึงมีความสามารถที่เหนือกว่า เช่น สั่งให้หยุดการเขียนและเขียนต่อได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ และใช้เทคโนโลยี Lossless Linking ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกและการอ่านข้อมูล ใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ส่วนการบันทึกรูปแบบของ R และ RW ก็ไม่ได้ต่างไปจากเครื่องบันทึกซีดีปัจจุบันR คือ Recordable หรือบันทึกได้ครั้งเดียว และ RW คือ Re-Writeable ที่สามารถนำกลับมาบันทึกซ้ำใหม่ได้ ซึ่งทั้งสองมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW ต่างก็สามารถบันทึกใหม่ได้ประมาณ 10,000ครั้ง

ประเภทของไดร์ฟ  DVD

ปัจจุบันไดร์ฟดีวีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการติดตั้งดังนี้

                1.ไดร์ฟภายใน   (Internal Drive) เป็นไดร์ฟที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ราคาถูกลงเรื่อยๆและน่าจะทดแทนไดร์ฟซีดีรอมได้ทั้งหมด

                2.ไดร์ฟภายนอก  (External Drive)  ติดตั้งอยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติอื่นๆเทียบเท่ากับไดร์ฟภายใน

                               

 รูปแบบของแผ่นดีวีดี

                J แผ่น DVD-ROM ป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม โดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงานเราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้

                J แผ่น DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น

                J แผ่นDVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้งจะเล่นได้กับไดร์ฟ DVD-R/RW บนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น

                J แผ่น DVD+R/RW เป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW ป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่น ดีวีดีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไดร์ฟของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์

                J  แผ่น DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูลจะใช้งานผ่านไดร์ฟดีวีดีปกติไม่ได้ แต่ข้อดีของดีวีดีชนิดนี้ก็คือสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ
ได้มากกว่า 100,000 ครั้งทำให้มันถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากขึ้น เช่น กล้องดิจิทัล

ประเภทของแผ่นดีวีดี

                 ดีวีดีมีให้เลือกใช้งานหลายความจุ ซึ่งแต่ละแบบมีเทคนิคในการเก็บข้อมูลที่ไม่
เหมือนกัน ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามความจุดังนี้

                1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 เป็นแผ่นที่ทำการจัดเก็บภาพได้เพียงชั้นเดียวและหน้าเดียว โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 กิกะไบต์ DVD5 จะแบ่งใช้วัสดุ 2 แผ่น ประกบกัน จะใช้งานเพียงแค่ส่วนล่างเพียงแค่แผ่นเดียวในการบันทึกข้อมูลและ บันทึกลงไปเพียงแค่ชั้นเดียว แผ่นรูปแบบนี้ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด

                2. Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9จะคล้ายกับ DVD5คือการบันทึก ข้อมูลลงในหน้าเดียว แต่จะบันทึกข้อมูลไว้ 2 ชั้นกระบวนการผลิตจะเป็นวัสดุแผ่นเดียวบันทึก ข้อมูลได้ประมาณ 8.5 กิโลไบต์ จึงเรียกว่า DVD9 โดยทั่วไป DVD9 จะใช้บันทึกข้อมูลที่ต้องการรายละเอียดมากๆ เช่น ภาพยนตร์ที่ต้องการคุณภาพของภาพสูงๆ เรื่องยาวๆ ซึ่งจะบรรจุข้อมูลเสียงไว้อีกชั้นหนึ่ง

                3. Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองหน้า และในแต่ละหน้าก็จะสามารถบันทึกข้อมูลได้เพียง 1 ชั้น แผ่นแบบนี้สามารถบันทึกข้อมูลได้เป็น 2 เท่าของ DVD5 คือสามารถบันทึกข้อมูลได้ 9.4 กิกะไบต์

                4. Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองด้าน และแต่ละด้านสามารถบันทึกได้มากถึงสองชั้น ซึ่งแผ่นชนิดนี้สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 17 กิกะไบต์  นำไปบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความยาวมากๆ

                เปรียบเทียบดีวีดีทั้ง 4 ประเภทFormat ความจุ เวลาโดยประมาณที่บันทึกได้

                1.Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 4.7 GB 2 ชั่วโมง

                2.Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9 8.5 GB 4 ชั่วโมง

                3.Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10 9.4 GB 4.5 ชั่วโมง

                4.Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18 17 GB มากกว่า 8 ชั่วโมง

สำหรับวิธีดูอย่างง่ายๆ           

DVD5 มักใช้วัสดุสีเงิน ความหนาของแผ่นจะไม่มาก
DVD9 เนื้อแผ่นมักเห็นเป็นสีทอง วงรอบในของแผ่นด้านข้อมูล อาจจะมีตัวหนังสือเล็กๆ เช่น side A, side B หรือ side 1,

ที่มา : Internet

kingji23

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
Re: ความเป็นมาของ DVD
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 12:16:05 pm »
สาระดีๆแบบนี้ต้องบอกต่อครับ

sarayung

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
Re: ความเป็นมาของ DVD
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2014, 05:34:45 pm »
เป็นข้อมูลที่ดีนะครับ ได้รับความรู้ใหม่ด้วยนะเนี่ย